if this is not true please let me know.
from: http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top … 40706.html
นักลงทุนต่างชาติเขาคิดอย่างเดียว
… ถ้าประเทศคุณ ไม่สามารถทำกำไรจากการลงทุนได้ ก็พร้อมที่จะถอนทุกออก…
เขาไม่มาสนใจหรือใส่ใจการมง การมุ้ง การเมือง หรอก
เงินส่วนต่างที่เป็นผลกำไรจากการลงเท่านั้น ที่นักลงทุนข้ามชาติเขาสนใจ
หลักการลงทุนมีข้อเดียว คือ
เมคเดอะสต้อกโฮลเดอร์เวลล์ – ทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษมั่งคั่ง
หากประเทศไทย ห่วยแตก….! จุกจิก….! หยุมหยิม….!
คอยใช้อำนาจเถื่อนหลอกแด๊ก คอยตบทรัพย์ใต้โต๊ะแล้วละก็…
เขามาทำกำไรนิดหน่อยระยะสั้นๆ ก็ถอนทุนทิ้งไปที่อื่น
เท่านั้นเอง….
——————————————————————
เรื่องนี้จะว่าไป ประเทศเราเองน่ะจะเสียหาย…
ประเทศเราจะเสียหายอย่างไร?
ความเชื่อถือในสายตาต่างประเทศจะหายไป ต่อไปใครจะเขามาลงทุนกับคนไทยต้องคิดแล้ว คิดอีก ทุกวันนี้เขาก็หาว่าคนไทย ขี้โกงอยู่แล้ว ทั้งนี้เพราะว่า อนุญาโตตุลาการ ที่มีหน้าที่โดยตรงในการตัดสินข้อพิพาท ยกตัวอย่างกรณี ITV ได้ตัดสินไปแล้ว และต้องถือเป็นที่สิ่นสุด เพราะว่า ITV ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่สามารถฟ้องศาลปกครองได้
แต่ก็มีคนหัวหมอ ไฟฟ้องศาลปกครองว่า อนุญาโตตุลาการตัดสินนอกอกนาจตัวเอง ตำตัดสินจึงเป็นโมฆะ ที่ไปฟ้องเพราะอยากให้สิงคโปร์และทักษิณเกิดความเสียหาย โดยไม่ได้นึกถึงประเทศชาติ ไม่ได้นึกถึงศักศรีของประบวนการยุติธรรมของไทย และเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นมากมายในช่วงที่มีการพยายามล้มรัฐบาลทักษิณ เช่นการที่ศาลปกครองพยายามก้าวก่ายอำนาจของ กลต. ที่ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญปี 40 กลต นั้นถืออำนาจตุลาการไว้ด้วย ดังนั้นการฟ้องไม่ฟ้อง ผิดหรือไม่ผิด เป็นอำนาจเต็มของ กลต แต่กลับถูกตัดสินว่าละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ เพียงเพราะว่าคำตัดสินไม่ตรงใจ ศาลปกครอง ถ้าอย่างนั้นสมมติว่าวันหนึ่งใครสักคนถูกศาลฏีกายกฟ้องคดี ผมจะไปฟ้องศาลปกครองว่าศาลฏีกาละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่จะได้ไหม?? เรื่องแบบนี้มันไม่ควรจะเป็นไปได้ แต่มันเป็นไปแล้ว หลายกรณี ทำให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศถอยหลัง และน่าละอายเมื่อถูกต่างประเทศมอง
กรณีเทมาเสค จะทำทำให้ประเทศอื่น ๆ ต้องคิดแล้วคิดอีกเมื่อจะลงทุนในประเทศไทย ถึงแม้ว่าจำเข้ามาอย่างถูกต้อง โดยการถือหุ้นที่ซื้อจากตลาดหุ้น ด้วยสัดส่วนตามกฏหมายกำหนดทุกประการก็ตาม แต่ก็สามารถกลายเป็นเหยื่อของความขัดแย้งระหว่างขั้วอำนาจ และเกิดความเสียหายได้ตลอดเวลา อย่างนี้ใครเข้าจะทำธุรกิจด้วย ไม่มีใครอยากทำรกิจกับคนขี้โกงหรอกครับ ในที่สุดประเทศชาติและประชาชนก็ต้องเป็นฝ่ายเสียหาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือความเสียหายทางเศรษกิจ ทางอ้อมคือการถูกดูถูกดูแคลนจากนานาอารยประเทศ
ปัญหา ITV จริง ๆ เป็นเพราะกลุ่ม NATION ได้ก่อไว้ เนื่องจาก เข้าไปประมูลสัมปทานด้วยค่าตอบแทนให้รัฐถึงปีละ 1,000 ล้านบาท มากกว่ารายอื่น ๆ 2-3 เท่า แล้วในที่สุดก็ไม่มีปัญญาจ่ายเลยสัก แปะเดียว โดยอ้างว่าขาดทุนมาตลอด แล้วในที่สุดก็กระโดดหนีไปทำช่องอื่น ทิ้งความเสียหายเอาไว้ที่ ITV
ครอบครัวชินวัตรขายแค่หุ้นชินคอร์ปแค่ที่ตนเป็นเจ้าของ 49% ให้กองทุนเทมาเสกและพันธมิตร
ไม่ใช่ขายทั้งบริษัท 100% เพราะที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นอื่น
ไม่ใช่ขายสัมปทาน, ความถี่, เครือข่าย, หรือหุ้นของบริษัทสัมปทานผู้ให้บริการมือถือ ดาวเทียม ทีวี
ชินคอร์ปถือหุ้นในเอไอเอส 43% ในชินแซทเทลไลท์ 41% ในไอทีวี 53% ดังนั้น ถือได้ว่าเทมาเสก (ผ่านการถือหุ้น49% ในชินคอร์ป) มีความเป็นเจ้าของ เอไอเอส 21% ชินแซทเทลไลท์ 20% ไอทีวี 26% ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ถือว่าปกติ
บริษัทโทรคมนาคมในภูมิภาค มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติจำนวนมาก เช่น Singtel ถือหุ้น 100% ใน Optus บริษัทมือถือและดาวเทียมอันดับสองของออสเตรเลีย เป็นโลกาภิวัฒน์ ไม่กระทบความมั่นคงของชาติ เพราะอยู่ภายใต้กฎหมายไทยและเครือข่ายติดอยู่ในประเทศ (ถอดออกไปไม่ได้) ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและนโยบายของกระทรวงไอซีที, กทช
ต้องแยกเรื่อง “เงินลงทุนและผู้ถือหุ้น” ออกจาก “บริษัทและใบอนุญาต” เพราะโทรคมนาคมลงทุนสูง ต้องส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ต้องหลีกเลี่ยงลัทธิปกป้องหรือกีดกันการค้า
ไทยมีพันธสัญญาต่อ WTO เปิดเสรีโทรคมนาคม ภายในปี 2549
วงโคจรดาวเทียมได้รับสิทธิจากสหประชาชาติ (UN) และ ITU ต้องทำตามกฎนานาชาติ รัฐบาลไทยได้สิทธิ์แต่ไม่ใช่เจ้าของ การให้บริการต้องเป็นสากล เน้นธุรกิจ อิงการเมืองไม่ได้ หากไทยอ้างหรือเน้นความมั่นคงหรือชาตินิยม ชาติอื่นก็จะเกิดกีดกันบ้าง
ยูคอม ดีแทค มือถือรายใหญ่อันดับสองของไทย ก็เป็นของบริษัทเทเลนอร์ ของรัฐบาลนอร์เวย์เกือบ 100% ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นเช่นกัน มีการถือหุ้นทางอ้อมผ่านตัวแทน ทำไมไม่ประท้วง
ขณะนี้นายสนธิทำโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง ASTV แพร่ภาพในไทยโดยใช้ดาวเทียมต่างชาติ (New Sky Network NSN ยิงสัญญาณภาพจากฮ่องกง) ผิดกฎหมายไทย ทั้งโทรคมนาคมและโทรทัศน์ อ้างเรื่องเสรีสื่อ แต่เป็นภัยต่อความมั่นคงในการร่วมมือกับต่างชาติเพื่อทำสื่อข้ามประเทศเข้ามาประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย
ที่มาและดูข้อมูลเพิ่มเติมได้( มันยาว )
http://www.sanpaworn.vissaventure.com/s … rp-deal285
กรณีดาวเทียมไทยคม
การใช้วงโคจรที่ได้รับสิทธิจากสหประชาชาติ (UN) และ ITU ต้องทำตามกฎนานาชาติ เป็นเรื่องสากล เพราะดาวเทียมมีพื้นที่บริการครอบคลุมหลายประเทศ รัฐบาลไทยเองก็เพียงได้สิทธิ์ในวงโคจรดาวเทียมที่หลังจากประสานงานกับชาติอื่นแล้ว ไม่ใช่เจ้าของโดยสมบูรณ์ จากนั้นจึงมอบหมายให้บริษัทส่งดาวเทียมขึ้นไปให้บริการมีกำหนดเวลาตามอายุดาวเทียม
ไม่ใช่เรื่องที่แต่ละประเทศทำตามใจได้ การให้บริการต้องเป็นสากล เป็นกลางและเน้นธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ อิงการเมืองไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้แต่ละประเทศอนุญาตให้ใช้ดาวเทียมของประเทศอื่นๆได้โดยไม่กีดกันอ้างเรื่องความมั่นคง หากฝั่งไทยอ้างหรือเน้นเรื่องความมั่นคงภายในหรือเรื่องชาตินิยมกันมาก ก็เท่ากับไปป่าวร้องให้ชาติอื่นห่วงเรื่องนี้ เกิดกีดกันระหว่างประเทศ ไปกันใหญ่
ปัจจุบันดาวเทียมไทยคมมีลูกค้าและรายได้จากต่างประเทศ กว่า 60% และเมื่อไอพีสตาร์และไทยคม 5 ให้บริการเต็มรูปแบบ จะมีลูกค้าและรายได้จากต่างประเทศกว่า 95% จึงต้องเป็นสากลและเป็นกลางอย่างยิ่ง
ดาวเทียม ปาลาปาของรัฐบาลอินโดนีเซีย แอ็ปสตาร์ของฮ่องกงจีน อ็อปตัสของออสเตรเลีย ล้วนมีผู้ถือหุ้นต่างชาติสัดส่วนสูงมาก มีส่วนร่วมในการบริหารสูง ในอนาคตไทยคมก็จะมีบริษัทลูกในหลายประเทศ
การที่อ้างประเด็นการขายสมบัติของชาติ ที่ผ่านมารัฐบาลส่งเสริมบริษัทโทรคมนาคมไทยอย่างไร?
มีการเก็บภาษีสองต่อ ทั้งภาษีเงินได้และค่าสัมปทาน (ต่อมาเรียกบางส่วนเป็นภาษีสรรพสามิตด้วย) ราวกับเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ที่มาเลเซียมีการให้สถานะ MSC (Multimedia Super Corridor) ให้สิทธิประโยชน์หลายอย่าง บ้านเรารัฐบาลให้อะไร?
สัมปทานมือถือและดาวเทียมเดิม ต้องโอนทรัพย์สินเป็นของรัฐ ทำให้การบริหารงานและการกู้เงินซับซ้อนมาก ต้นทุนสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น
รัฐก็กำกับดูแลการแข่งขันให้เหมาะสมไม่ได้ ทำให้บริการมือถือไทยแข่งขันรุนแรงมาก จัดได้ว่าถูกที่สุดในโลก (การแข่งขันมากไปไม่ใช่ว่าดี แข่งกันเจ๊ง ลงทุนซ้ำซ้อนเสียเงินตราต่างประเทศมาก)
• เช่นกรณีโทรทั่วไทย 1 ชั่วโมง จ่าย 1 นาที (หากจ่าย 2 บาท/นาที เท่ากับ นาทีละ 3.3 สตางค์ ที่อเมริกา นาทีละ 15 เซ็นต์ เท่ากับ 6 บาท มากกว่าบ้านเรา 181 เท่า, ที่ออสเตรเลีย นาทีละ 25 เซ็นต์ เท่ากับ 6.25 บาท/นาที มากกว่าบ้านเรา 189 เท่า, ที่จีน นาทีละ 50 เซ็นต์หยวน จ่ายทั้งผู้โทรออกและรับเข้า เท่ากับ 5 บาท/นาที มากกว่าบ้านเรา 151 เท่า ทั้งหมดนี้แค่โทรในเมืองเดียวกัน ทั่วประเทศแพงกว่านี้มาก) ขณะที่ต้นทุนอุปกรณ์และการเงินของเราแพงกว่า มีแค่บริหารต้นทุนและค่าแรงได้ต่ำกว่าเท่านั้น
กรณี ยูคอม ดีแทค ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่อันดับสองของไทย 6 มีนาคม 2549 กรณีขายหุ้นชินคอร์ป บทที่ 3 จาก “คนไทยเพื่อคนไทย” หน้า 3
บทวิเคราะห์และคำอธิบายเหล่านี้ ตั้งใจให้ย่นย่อและเข้าใจง่ายขึ้น เน้นประเด็นหลัก หากมีผิดพลาดจุดใด ยินดีรับการแก้ไข ช่วยกันอ่านและเผยแพร่ต่อ
ปลายปี 48 ตระกูลเบญจรงคกุล ได้ขายหุ้นอย่างซับซ้อน รวมถึงการใช้ตัวแทนนอมินีด้วย ทำให้ต่างชาติ(บริษัทเทเลนอร์ เจ้าของใหญ่คือรัฐบาลนอร์เวย์) เป็นเจ้าของดีแทคเกือบทั้งหมด 100% (มากกว่ากรณีชินคอร์ปมาก) ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นเช่นกัน มีการถือหุ้นทางอ้อมผ่านตัวแทน
หากกรณีชินคอร์ปไม่ถูกต้อง กรณียูคอมดีแทคก็เหมือนกัน ทำไมผู้ประท้วงกรณีชินคอร์ปไม่ประท้วงกรณียูคอมดีแทค เป็นแค่เกมการโจมตีการเมือง (ไม่ได้ต้องการกระทบดีแทค เพียงไม่ต้องการการเมืองสกปรก)
7 ปีก่อน นายสนธิทำโครงการดาวเทียมลาวสตาร์ลงทุนแล้วเจ๊งไปหลายพันล้านบาท ให้ยูคอมซื้ออุ้มบริษัทไป เป็นเหตุให้เลือกปฏิบัติในการโจมตีกล่าวหา?
กรณีนายสนธิทำโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง ASTV แพร่ภาพในไทยโดยใช้ดาวเทียมต่างชาติ (New Sky Network) ผิดกฎหมายไทย สองกรณี
การใช้ดาวเทียมต่างชาติที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้บริการได้ในไทยโดย กทช
การออกอากาศแพร่ภาพโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยไม่มีใบอนุญาต อาศัยช่องโหว่ที่ทางราชการยังไม่มีมาตรการจัดการกับช่องโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมอย่างผิดกฎหมาย
อาศัยอิทธิพลม็อบ อ้างสิทธิสื่อมวลชน และอ้างว่ารัฐปิดกั้นสื่อ ทั้งที่สื่อไทยโจมตีรัฐบาลได้ทุกรูปแบบ
กรณีนายสนธิทำธุรกิจดาวเทียมลาวสตาร์ ในนามบริษัท ABCN (Asia Broadcasting & Communications Ltd)
นายสนธิขอสัมปทานและร่วมทุนกับรัฐบาลลาว ตั้งเป้าขายตลาด ไทย ไต้หวัน จีน อินเดีย
พยายามที่จะฝ่าฝืนกฎหมายไทยเพื่อขายช่องสัญญาณ และทำโทรทัศน์บอกรับสมาชิกในไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ เล็งที่จะแข่งกับดาวเทียมไทยคมและUBC
แต่หลังลงทุนไปหลายพันล้านบาท ก็ล้มละลายและต้องเลิกไป คงยังเจ็บใจที่ทำแล้วเจ๊ง?
ทั้งหมดนี้ นายสนธิได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของชาติและการไม่ขายชาติตรงไหน ในการร่วมมือกับต่างชาติเพื่อทำสื่อข้ามประเทศเข้ามาประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย
นายสนธิยังผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรค 1 ทั้ง 4 ประเด็น เพราะ (1) พยายามล้มรัฐบาล (2) หมิ่นประมาทและละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอื่น (3) ก่อม็อบ และ (4) เนื้อหาหยาบคาย
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อ (1) รักษาความมั่นคงของรัฐ (2) เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น (3) เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ (4) เพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน
ประเด็นการใช้ตัวแทนถือหุ้นให้ต่างชาตินอมินี (Nominee)
————————————————————–
ตามที่กล่าวหาว่า ต่างชาติใช้ตัวแทนถือหุ้นชินคอร์ป เพื่อจงใจหลีกเลี่ยงและผิดกฎหมาย พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ปัญหาเกิดจากการเอาประเด็นกฎหมายสองฉบับมาปนกัน
ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ปี 2542
ธุรกิจตามบัญชีหนึ่ง สงวนไว้เฉพาะสัญชาติไทย ห้ามต่างด้าวทำ (มีกิจการโทรคมนาคมและสื่อโทรทัศน์)
ธุรกิจตามบัญชีสอง อนุญาตให้ต่างด้าวทำได้ แต่หุ้นไทยไม่น้อยกว่า 40% (มีกิจการการบินในประเทศ)
นิยามความเป็นต่างด้าวคือ มีต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% (และห้ามสัญชาติไทยถือหุ้นแทนแบบนอมินี)
มีข้อกำหนดเรื่องการถือหุ้นในบริษัทต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำธุรกิจตามบัญชี1-3 (ธุรกิจนอกบัญชีไม่เกี่ยว ไม่ได้ห้ามคนต่างด้าวทำ)
ไม่มีข้อพิจารณาเรื่องสัดส่วนอำนาจในการบริหารกิจการ การครอบงำกิจการ หรือ การพิจารณาการถือหุ้นทุกทอด (Chain Principle) ตาม กฎ กลต.
ตามกฎ ก.ล.ต. เรื่องการครอบงำกิจการ
หากมีผู้ซื้อหุ้นเกิน 25% ของบริษัทจดทะเบียน ต้องทำข้อเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหมด (Tender Offer) วัตถุประสงค์เพียงเพื่อคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายอื่น หากไม่ชอบ ให้มีโอกาสถอนตัวออกไป (Exit)
ปกติต้องการจะดูการถือหุ้นทุกทอด ทั้งตรงและอ้อม (Chain Principle) และมีหน้าที่ต้องรายงาน เพื่อดูสัดส่วนอำนาจในการบริหารกิจการ การถือหุ้นแทนแบบนอมินีก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ผิดอะไร
ไม่ได้ดูเรื่องสัญชาติไทยหรือความเป็นต่างด้าว ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ประเด็นชินคอร์ป ตาม พ.ร.บ.. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ชินคอร์ปเป็นบริษัทไทย มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกิน 50% และไม่ได้ทำธุรกิจตามบัญชี พ.ร.บ.. ธุรกิจต่างด้าว แต่ชินคอร์ปเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ทำ (ชินคอร์ปถือหุ้นในเอไอเอส 43% ในชินแซทเทลไลท์ 41% ในไอทีวี 53% ในไทยแอร์เอเชีย 49%)
กรณีไทยแอร์เอเชีย มีมาเลเซียถือหุ้นอยู่แล้ว 49% ซึ่งมีแนวโน้มเรื่องสัญชาติได้ จึงดำเนินการแก้ไขอยู่
ประเด็นชินคอร์ป ตาม กฎ กลต. เรื่องการครอบงำกิจการ
หากต่างชาติซื้อหุ้นชินคอร์ป 25% แล้วต้องทำ Tender Offer ซื้อหุ้นหมด 100% ตาม กฎ กลต จะทำให้มีประเด็นสัญชาติได้
เทมาเสกไม่ได้ต้องการซื้อทั้งหมด 100% จึงมีการนำพันธมิตรมาร่วมซื้อและถือหุ้นหลายราย ทั้งบริษัทกุหลาบแก้ว และธนาคารไทยพาณิชย์ (ซึ่งเป็นของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) เพื่อให้เป็นสัญชาติไทยถูกต้อง เป็นความเหมาะสมในทางธุรกิจ
แนวคิดอื่นๆในการแก้ปัญหา
หากผู้ถือหุ้นชินคอร์ปสัญชาติไทยที่เหลือ เก็บหุ้นไว้ ไม่ขายให้ตาม Tender Offer
กลต. อนุญาตให้ไม่ต้องทำ Tender Offer (มีกฎและความเหมาะสม เช่น กรณีทำให้เกิดความเสียหายต่อมูลค่าของบริษัท กรณีนี้หากทักท้วงกันมาก ก็น่าจะพิจารณาให้เข้าข่ายได้)
ให้สัญชาติไทยอื่นมาซื้อ โดยเฉพาะในบริษัทย่อยเช่น ไทยแอร์เอเชีย ITV หรือ ชินแซท
ข้อเท็จจริงอื่นๆ
ครอบครัวนายกฯขายหุ้นชินคอร์ป 49% ที่ตัวเองเป็นเจ้าของ ไม่ได้ขายทั้งบริษัทเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของส่วนที่เหลือ ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบปัญหานี้
ปัญหาประเด็นสัญชาติหรือการถือหุ้นแทนใดๆ เป็นปัญหาของผู้ซื้อหุ้นชินคอร์ป คือ เทมาเสกและพันธมิตร ในการแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่ปัญหาของผู้ขาย คือครอบครัวนายกฯ
ดูรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ๆในตลาดหลักทรัพย์ มีคำว่า นอมินี (Nominee) ในบริษัทดังๆจำนวนมาก (ไม่มีชื่อว่านอมินีแต่เป็นก็มี) ดูข้อมูลประกอบ
เป็นเรื่องปกติในธุรกิจ มีเหตุผลความจำเป็นหลากหลาย หากผิดหรือห้าม จะมีปัญหากับบริษัทอีกจำนวนมากที่ทำอยู่ และมีปัญหาการลงทุนจากต่างชาติ เมื่อเทียบกับหลายๆประเทศที่เปิดกว้างให้ต่างชาติถือหุ้นมากกว่าบ้านเรามาก
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ MATI : บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ณ วันที่ 11/04/2548 ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) % หุ้น
1 นายขรรค์ชัย บุนปาน 4,991,700 24.35
2 INVESTORS BANK AND TRUST COMPANY 2,174,500 10.61
3 SOMERS (U.K.) LIMITED 1,936,663 9.45
4 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 1,470,267 7.17
5 THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 1,284,000 6.26
6 N.C.B.TRUST LIMITED-RBS AS DEP FOR FS 1,000,000 4.88
7 นายไพโรจน์ สายทุ้ม 739,068 3.61
8 CHASE NOMINEES LIMITED 1 601,100 2.93
9 BOSTON SAFE DEPOSIT AND TRUST COMPANY 592,300 2.89
10 HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 452,700 2.21
11 CREDIT SUISSE FIRST BOSTON (EUROPE) LTD 438,400 2.14
12 น.ส.ปานบัว บุนปาน 382,875 1.87
13 นายปราปต์ บุนปาน 382,800 1.87
14 DBS VICKERS SECURITIES (SINGAPORE) PTE L 258,200 1.26
15 นางกมลทิพ พยัฆวิเชียร 233,866 1.14
16 DEUTSCHE BANK INTERNATIONAL LTD. 200,000 0.98
17 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 188,900 0.92
18 NORTRUST NOMINEES LTD. 168,000 0.82
19 นายวิชัย มิตรสันติสุข 132,400 0.65
20 นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร 130,666 0.64
21 THE BANK OF NEW YORK NOMINEES LTD A/C BA 127,700 0.62
22 นางเพาพิลาส เหมวชิรวรากร 110,000 0.54
แหล่งข้อมูล: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กรณี ยูคอม ดีแทค ปลายปี 48 ตระกูลเบญจรงคกุล ได้ขายหุ้นอย่างซับซ้อน รวมถึงการใช้ตัวแทนนอมินีด้วย ทำให้ต่างชาติเป็นเจ้าของดีแทคเกือบทั้งหมด (มากกว่ากรณีชินคอร์ปมาก) ไม่มีใครพูดถึง
ที่มา : http://www.sanpaworn.vissaventure.com/s … rp-deal281
and this is from Fringer's blog. You can go directly to her original blog's here
ความเห็นเกี่ยวกับ “ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ ทักษิณ ชินวัตร และ ชินคอร์ป”
มีเพื่อนส่งลิ้งก์หนึ่งมาให้อ่าน เป็นบทความชื่อ “ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ ทักษิณ ชินวัตร และ ชินคอร์ป” สามารถดาวน์โหลดได้จาก บล็อกชื่อ Thai For Thai หรืออ่านออนไลน์ได้จาก หน้านี้ของบล็อกสาระสนเท่ห์
บทความนี้มีเนื้อหาน่าสนใจ เพราะสะท้อนจุดยืนที่มองว่า การขายหุ้นชินของนายกฯ นั้น ไม่มีอะไรผิดกฎหมายหรือชอบมาพากล ซึ่งเป็นจุดยืนที่อยู่ตรงข้ามกับบทความที่เคยโพสต์บนบล็อกนี้ (ซึ่งตอนนี้รวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ “25 คำถาม” แล้ว หาซื้อได้ทั่วไป)
บทความทั้งสองนี้ไม่สามารถเทียบกันได้ชัดเจน เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นกันคนละประเด็น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบทความของ Thai For Thai บางตอน มีลักษณะไม่ครบถ้วน และ “ไม่ตรงประเด็น” ในแง่ที่ไม่ได้ไขข้อข้องใจที่เป็นประเด็นหลักจริงๆ ในดีลนี้ แต่กลับไปอธิบายประเด็นรองแทน จึงอยากบันทึกความเห็นคร่าวๆ ของตัวเองไว้ตรงนี้ เพื่อส่งเสริมให้เราทุกคนคุยเรื่องนี้กันอย่าง “ตรงประเด็น” ที่สำคัญจริงๆ มากขึ้น
ตัวสีดำคือข้อเขียนที่คัดมาจากบทสรุปของ Thai For Thai ตัวสีน้ำเงินคือความเห็นของตัวเอง
ผู้เขียนไม่ขอกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายเรื่อง “กรณีไทยคมกับ BOI, FTA, Exim Bank” เพราะไม่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะวิเคราะห์ แต่จะพยายามใช้เวลาศึกษาหาความรู้ในด้านนี้ เพราะกำลังเขียนเรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่
การเสียภาษีจากการขายหุ้นชินคอร์ปฯ
* ขายหุ้นในตลาดไม่มีภาษี
ข้อนี้ไม่ควรมีใครเถียง เพราะเป็นความจริง อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักอยู่ที่ “วิธีการ” ซื้อขายที่จะนำมาสู่การขายหุ้นของครอบครัวชินวัตรในลักษณะที่ไม่ต้องเสียภาษีมากกว่า อ่านรายละเอียดได้ในบทความ 25 คำถาม
* ขายแอมเพิลริชนอกประเทศก็ไม่มีภาษี ขายโอนตัวหุ้นที่ถืออยู่ให้ตัวเอง ไม่มีเงินได้เพิ่มที่ต้องเสียภาษี ทั้งสองกรณีได้เท่าสิทธิ์เดิม
* ที่เอาหุ้นชินคอร์ปฯเข้าแอมเพิลริช 11% ในปี 42 เพราะเตรียมเอาชินคอร์ปฯเข้าตลาดหุ้นสหรัฐ (ตอนหลังเลิกแผน) หากขายนอกประเทศ ก็ไม่มีภาษี (แต่ตั้งใจโอนกลับเพื่อให้เงินอยู่ในประเทศ)
ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า นายกฯ ตั้งแอมเพิลริชขึ้นมาทำไม หากอยู่ที่ว่า เมื่อเห็นชัดว่าชินคอร์ปไม่ได้เข้าตลาดแนสแดกแล้ว ครอบครัวชินวัตรเก็บแอมเพิลริช และหุ้นชินที่แอมเพิลริชถือ ไว้เพื่อทำอะไรต่างหาก
การขายหุ้นชินของแอมเพิลริช ในวันที่ 20 มกราคมนั้น ควรต้องมีการประเมินภาษีเงินได้แน่นอน เพราะเป็นการขายหุ้นจดทะเบียนในไทยของบริษัทที่มีคนไทยเป็นเจ้าของ ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด บทความเรื่อง 25 คำถาม อธิบายได้ค่อนข้างละเอียดดีแล้วว่าทำไม ผู้เชี่ยวชาญภาษีหลายท่านก็ออกมาพูดแล้วว่า้กรณีนี้ต้องเสียภาษี คนอื่นที่ทำธุรกรรมแบบเดียวกันนี้ก็ต้องเสียภาษีมาแล้วทั้งนั้น
การที่แอมเพิลริชต้องขายหุ้นชินออกมาให้พานทองแท้และพินทองทา ก่อนที่จะขายให้เทมาเสกนั้น เป็นเพราะกฎของเทมาเสก ห้ามไม่ให้ซื้อหุ้นจากนอมินี ต้องซื้อจากเจ้าของหุ้นโดยตรง (ซึ่งเป็นกฎที่ดีมาก เพราะทำให้รู้ตัวตนที่แท้จริงของคนซื้อขาย กฎหมายเมืองไทยน่าจะเอาอย่าง) ดังนั้นไม่ว่าครอบครัวชินวัตรจะอยากหรือไม่อยากให้เงินอยู่ในประเทศ ก็ต้องทำตามกฎของเทมาเสก
นอกจากนั้น ถ้าอยากให้เงินอยู่ในประเทศจริงๆ ก็ควรยุบแอมเพิลริช โอนหุ้นชินในแอมเพิลริชกลับม¸²ให้พานทองแท้ถือเองตั้งนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาทำตอนขายหุ้นให้เทมาเสก
* ตัว ดร.ทักษิณ ครอบครัว บริษัท และพนักงานกว่า 12,000 คน เสียภาษีและค่าสัมปทานสูงมากรวมปีละหลายหมื่นล้านบาท ไม่ใช่พวกเลี่ยงภาษีไม่รักชาติแน่
อันนี้คงต้องบอกว่า “แล้วไง?” ตรรกะนี้ใช้ไม่ได้ สมมุติว่าขโมยขึ้นบ้านคุณ แล้วคุณไปขึ้นศาล ศาลตัดสินว่าขโมยไม่ผิดเพราะดูจากประวัติแล้วเขาไม่เคยขโมยของมาก่อน แทนที่จะตัดสินจากพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ถ้าศาลตัดสินแบบนี้ คุณรับได้หรือไม่?
การจัดตั้งบริษัทนอกอาณาเขต (Offshore Company) แบบแอมเพิลริช ไม่ผิดกฎหมาย ทำกันทั่วไป
* เมืองไทยก็มี Offshore เรียกว่า BIBF วาณิชธนกิจ คนต่างชาติมาตั้งในไทยได้ไม่เสียภาษีไทยเช่นกัน
ประเด็นใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ว่า การไปจดทะเบียนที่ BVI หรือคอนเซ็ปท์ของการมีเขตปลอดภาษีนั้น เป็นเรื่อง “ธรรมดา” หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่า บริษัทนอมินีของครอบครัวชินวัตรนั้น เป็นนอมินีของนายกฯ (ไม่ใช่ของลูกชาย ซึ่งถ้าเป็นของนายกฯ จริง จะผิดมาตรา 209 ของรัฐธรรมนูญทันที เพราะเป็นการ “ซุกหุ้น”) หรือไ่ม่ และเอาไว้ปั่นหุ้น SHIN ในหลายปีที่ผ่านมา จริงหรือไม่
* แอมเพิลริช มีหน้าที่เป็นผู้ถือหุ้นชินคอร์ป ไม่ใช่เพื่อฟอก (หุ้นมีทะเบียน) ไม่ใช่เพื่อเลี่ยงภาษี (ไม่มีภาษีอยู่แล้ว)
คำถามที่คนคาใจคือ แอมเพิลริช “เอาไว้ซุกหุ้น และปั่นหุ้นชินหรือไม่?” ไม่ใช่ “เอาไว้ฟอกเงินหรือเลี่ยงภาษีหรือไม่?” คนเขียนบทความจึงตอบไม่ตรงคำถาม
* บริษัท Offshore จำนวนมากเข้าตลาดหลักทรัพย์สากล เช่น แนสแดก เป็นเรื่องธรรมดา
ใช่ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ในเมื่อบริษัทชินคอร์ปไม่ได้เข้าตลาดแนสแดกแล้ว (แนสแดก crash คือหุ้นตกมโหฬาร เมื่อปี 2544) ทำไมไม่โอนหุ้นในส่วนของแอมเพิลริชกลับมาเมืองไทย? (เช่น โอนให้พานทองแท้หรือพินทองทา) แล้วทำไมต้องมีการ “แตก” หุ้นชินที่แอมเพิลริชถือ ออกมาเป็นสองส่วน คือ 22 ล้านหุ้น และ 10 ล้านหุ้น? (ดูแผนผังได้จากบทความเรื่อง 25 คำถาม) ส่วนแรกอยู่ในบัญชีชื่อแอมเพิลริชเอง ส่วนที่สองอยู่ในบัญชีที่ UBS เป็นผู้ดูแล (คัสโตเดียน) ซึ่งส่วนนี้มีการโอนไปโอนมาระหว่างบัญชีต่างๆ หลายต่อหลายครั้ง ในรอบห้าปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า บัญชี 10 ล้านหุ้นนี้ ใช้ปั่นหุ้นชิน (หรือที่เรียกว่า “ฝรั่งหัวดำปั่นหุ้น”) หรือไม่?
* ชินคอร์ปและดร.ทักษิณก็รายงานตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 42 มีจดหมายหลักฐานชัดเจน
หลักฐานที่ปรากฏจนถึงปัจจุบัน ส่อให้เห็นว่า ดร. ทักษิณ มีเจตนาที่จะปกปิดสถานภาพ “นอมินีตระกูลชินวัตร” ของแอมเพิลริชมาตลอด ที่รายงานนั้นเพราะถูกรัฐบังคับ มากกว่ารายงานตามหน้าที่ (เช่น เมื่อต้นปี 2544 นายกฯ แจ้งต่อ กลต. ว่าโอนหุ้นแอมเพิลริชให้ลูกชายแล้ว ก็ต่อเมื่อถูกปปช. สอบสวนในคดีซุกหุ้น หลังจากได้รับหนังสือสอบถามจาก กลต.) นอกจากนั้นก็มีรายการ “ติ๊กผิด” มากมายหลายรายการ ดูชาร์ทสรุปความไม่ชอบมาพากลของแอมเพิลริช ได้จากการ์ตูนชั้นยอด เรื่องทศหมึก ของทีมงาน สว. แก้วสรร อติโพธิ
ครอบครัวชินวัตรขายแค่หุ้นชินคอร์ปแค่ที่ตนเป็นเจ้าของ 49% ให้กองทุนเทมาเสกและพันธมิตร
* ไม่ใช่ขายทั้งบริษัท 100% เพราะที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นอื่น… ไม่ใช่ขายสัมปทาน, ความถี่, เครือข่าย, หรือหุ้นของบริษัทสัมปทานผู้ให้บริการมือถือ ดาวเทียม ทีวี
ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า นายกฯ ขายหุ้นกี่เปอร์เซ็นต์ เท่ากับว่า เทมาเสกมี “อำนาจควบคุม” การบริหารจัดการของชินคอร์ป ซึ่งมีอำนาจบริหารจัดการในบริษัทสัมปทานผู้ให้บริการมือถือ ดาวเทียม ทีวี หรือไม่ เพราะถ้าเทมาเสกควบคุมชินคอร์ปได้ (ไม่ว่าจะถือหุ้นกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม) ก็หมายความว่าเทมาเสกมีสิทธิดำเนินกิจการตามสัมปทานได้ทั้งหมด
คนที่บอกว่า นี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่เพราะสัมปทานให้เพียง “สิทธิ” ในการดำเนินกิจการ โดยที่สินทรัพย์สัมปทานทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐหลังจากสัมปทานสิ้นสุดลงนั้น คงต้องพิจารณาเพิ่มเติม เพราะ “ความเป็นเจ้าของ” ในอะไรก็ตาม ไม่มีความหมายเท่ากับ “สิทธิในการใช้” ของนั้นๆ
ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าคุณมีบ้านหลังหนึ่ง แล้วเซ็นสัญญาอนุญาตให้นายเส็กเป็นผู้มีอำนาจเอาบ้านคุณให้ใครเช่าก็ได้ ภายในเวลา 10 ปี นายเส็กก็อาจกีดกัน ไม่ให้เพื่อนคุณที่เขาเกลียดเช่าบ้านนั้นอยู่ ถึงคุณจะสามารถยกเลิกสัญญาได้ คุณก็ต้องเดือดร้อนไปปลอบใจเพื่อน หา “นายหน้า” รายใหม่มาแทนนายเส็ก ฯลฯ ก่อน ดังนั้นแม้คุณจะเป็นเจ้าของบ้าน คุณก็ไม่มีอำนาจบริหารจัดการบ้านนั้น ตราบใดที่สัญญาที่ทำกับนายเส็กยังมีผลบังคับใช้อยู่
ฉะนั้น หากเทมาเสกมีอำนาจควบคุมชินคอร์ปจริง จะเรียกดีลนี้ว่าเท่ากับเป็นการ “ขายสัมปทาน” ก็ไม่ผิดนัก เพราะเราต้องดูสิ่งที่เทมาเสกทำได้ ไม่ใช่ดูแค่ว่า ไปซื้อหุ้นระดับไหนเท่าไหร่
* ชินคอร์ปถือหุ้นในเอไอเอส 43% ในชินแซทเทลไลท์ 41% ในไอทีวี 53% ดังนั้น ถือได้ว่าเทมาเสก (ผ่านการถือหุ้น 49% ในชินคอร์ป) มีความเป็นเจ้าของ เอไอเอส 21% ชินแซทเทลไลท์ 20% ไอทีวี 26% ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ถือว่าปกติ
ประการแรก เราจะดูสัดส่วนการถือหุ้นง่ายๆ อย่างนี้ไม่ได้ เพราะนั่นคือสัดส่วนการถือหุ้นก่อนที่เทมาเสกจะทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ตามกฎหมาย (เสนอซื้อหุ้นชินจากผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหมด) เสร็จ ซึ่งหลังจากเทมาเสกทำเทนเดอร์หุ้นชินจบไปเมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา ก็ออกมาประกาศแล้วว่า หลังจากเทนเดอร์เสร็จสิ้นลง เทมาเสกถือหุ้นชินทั้งหมดกว่า 96%
ประการที่สอง ประเด็นใหญ่ไม่ได้อยู่ที่สัดส่วนการถือหุ้น แต่อยู่ที่อำนาจควบคุมที่อาจส่อว่า เทมาเสกทำผิดกฎหมาย พ.ร.บ. ต่างด้าว ดูประเด็นก่อนประกอบ
* บริษัทโทรคมนาคมในภูมิภาค มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติจำนวนมาก เช่น Singtel ถือหุ้น 100% ใน Optus บริษัทมือถือและดาวเทียมอันดับสองของออสเตรเลีย เป็นโลกาภิวัฒน์ ไม่กระทบความมั่นคงของชาติ เพราะอยู่ภายใต้กฎหมายไทยและเครือข่ายติดอยู่ในประเทศ (ถอดออกไปไม่ได้) ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและนโยบายของกระทรวงไอซีที, กทช
การจะดูว่า การให้อำนาจต่างชาติในการทำธุรกิจดาวเทียม มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติจริงหรือไม่นั้น (ผู้เขียนไม่ติดใจเรื่องโทรศัพท์มือถือ เพราะเป็นกิจการที่ควรเปิดเสรีให้ต่างชาติแข่งขันได้) ต้องคำนึงว่าประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ประชากรส่วนใหญ่ยังยากจน ไม่ได้มีดาวเทียมมากมายเหมือนประเทศพัฒนาแล้วที่ร่ำรวยกว่าอย่างออสเตรเลีย จะได้ควรอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามา “มีเอี่ยว” ได้ง่ายๆ (และแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างออสเตรเลีย ก็ไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาดำเนินกิจการระดับชาติที่มีนัยยะด้านความมั่นคงและอธิปไตยของชาติง่ายๆ เช่น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐสภาออสเตรเลียลงมติไม่อนุญาต ให้สายการบิน Singapore Airlines ของสิงคโปร์ บินระหว่างออสเตรเลียและอเมริกา)
การให้สิทธิเทมาเสก ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสิงคโปร์ เข้ามามีอำนาจควบคุมดาวเทียมส่วนใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งต้องเดินตามวงโคจรที่แต่ละประเทศได้รับในโควต้าจำกัด เป็นเรื่องใหญ่ที่เป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคง และอธิปไตยของชาติ
ผู้เขียนไม่ได้ปฏิเสธโลกาภิวัตน์ และเห็นด้วยว่าประเทศไทยไม่ควรกีดกันการค้ากับต่างประเทศ แต่เราต้องคำนึงให้ดีว่า ธุรกิจใดบ้างที่เราควรอนุญาตให้ต่างชาติ (โดยเฉพาะรัฐบาลต่างชาติ ไม่ใช่บริษัทเอกชน) เข้ามาทำ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญ นอกเหนือจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลอเมริกาไม่อนุญาตให้บริษัทจีนคือ CNOOC เข้ามาซื้อกิจการของบริษัทน้ำมันอเมริกันชื่อ UNOCAL ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง เพราะน้ำมันเป็นทรัพยากรสำคัญ อย่างนี้แปลว่ารัฐบาลอเมริกา ประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งในโลก ปฏิเสธโลกาภิวัตน์หรือไม่?
นอกจากนั้น สังคมไทยก็ยังไม่สนิทใจว่า กระทรวงไอซีที และ กทช. ภายใต้รัฐบาลนี้ จะสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระจากกลุ่มชินคอร์ป ได้จริงหรือไม่
* วงโคจรดาวเทียมได้รับสิทธิจากสหประชาชาติ (UN) และ ITU ต้องทำตามกฎนานาชาติ รัฐบาลไทยได้สิทธิ์แต่ไม่ใช่เจ้าของ การให้บริการต้องเป็นสากล เน้นธุรกิจ อิงการเมืองไม่ได้ หากไทยอ้างหรือเน้นความมั่นคงหรือชาตินิยม ชาติอื่นก็จะเกิดกีดกันบ้าง
ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับวาทกรรม “ชาตินิยม” แบบไร้เหตุผล (เช่น ไม่อยากให้ต่างชาติเข้ามาทำอะไรทั้งสิ้น โดยไม่ดูว่าคนไทยได้ประโยชน์หรือไม่) แต่ความมั่นคงอ้างได้แน่นอน โดยเฉพาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนา อย่างประเทศไทย ที่มีทรัพยากรจำกัด และมีบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ที่พัวพันการเมือง มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนตลอดมา ถ้าประเทศทุกประเทศมีอำนาจการต่อรองเท่ากัน มีระดับการพัฒนาเท่ากัน ก็คงเปิดประเทศได้กว้างเท่ากัน แต่ความจริงไม่ใช่ เราต้องระวังตัวไม่ให้ประเทศใหญ่กว่ามาเอารัดเอาเปรียบ การที่ประเทศไทยควรสนับสนุนโลกาภิวัตน์ ไม่ได้หมายความว่าเราควรหลับหูหลับตา เปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาทำอะไรก็ได้ทุกอย่าง เราควรเลือกเดินอยู่บน “ทางสายกลาง” ที่อยู่ระหว่างชาตินิยมไร้เหตุผล และเสรีนิยมสุดขั้ว
* ยูคอม ดีแทค มือถือรายใหญ่อันดับสองของไทย ก็เป็นของบริษัทเทเลนอร์ ของรัฐบาลนอร์เวย์เกือบ 100% ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นเช่นกัน มีการถือหุ้นทางอ้อมผ่านตัวแทน ทำไมไม่ประท้วง
ความจริงก็คือ คนไม่สนใจดีลยูคอมเท่ากับดีลชิน เพราะดีลชินเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญระดับนายกรัฐมนตรี และเป็นการเทคโอเวอร์ที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ไทย แต่เราก็ควรวิเคราะห์กันว่า การที่คนไม่ประท้วงยูคอมนั้น สมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร
ยูคอม ดีแทค ไม่ได้ทำธุรกิจทีวี ซึ่งเป็นธุรกิจ “ต้องห้าม” (บัญชีหนึ่ง) ในพ.ร.บ. ต่างด้าว หรือธุรกิจดาวเทียม ซึ่งเป็นธุรกิจที่สำคัญต่อความมั่นคงของชาติและประเทศไทยมีโควตาวงโคจรจำกัด ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว กลุ่มยูคอมทำเพียงธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ซึ่งไม่ถูกควบคุมด้วยกฎหมายต่างด้าว (ซึ่งมีบทลงโทษเรื่องการใช้โครงสร้างตัวแทน หรือนอมินี) และเป็นธุรกิจที่ประเทศไทยต้องเปิดเสรีอยู่แล้วตามข้อตกลง WTO
การใช้โครงสร้างนอมินีของเทเลนอร์ เป็นโครงสร้างเพื่อทำให้มีอำนาจควบคุมยูคอม ในขณะที่ยังถือหุ้นสูงสุด 49% ตามกฎหมาย พ.ร.บ. โทรคมนาคม และสัญญาสัมปทาน โครงสร้างนี้ไม่ต่างจากโครงสร้างที่เทมาเสกใช้ควบคุมชินคอร์ป แต่ พ.ร.บ. โทรคมนาคม ไม่มีข้อห้ามเรื่องการใช้คนไทยหรือบริษัทไทยเป็นนอมินี ไม่เหมือน พ.ร.บ. ต่างด้าว ที่ห้ามชัดเจน
ดังนั้น โครงสร้างการนอมินีถือหุ้นยูคอมของเทเลนอร์ เรียกได้ว่า “น่าเกลียด” (ถ้าเรามองว่า กฎที่จำกัดการถือหุ้นของต่างชาติไว้ที่ 49% ในกฎหมายไทยทุกฉบับ มีเจตนารมณ์ที่จะจำกัดอำนาจควบคุมไว้แค่นั้นด้วย) แต่ก็เป็นความน่าเกลียดระดับ “ปกติ” ที่บริษัทต่างชาติหลายรายทำ ไม่ได้ “น่าเกลียดสุดขั้ว” อย่างกรณีของเทมาเสก เพราะเทมาเสกไม่ได้ละเมิดแค่เจตนารมณ์ แต่ละเมิดตัวบทกฎหมาย คือ พ.ร.บ. ต่างด้าว (เพราะมีอำนาจควบคุมไอทีวี) อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าเมื่อเร็วๆ นี้เทมาเสกได้แก้ไขความผิดนี้แล้ว ด้วยการไปหาคนไทย คือดาโต๊ะสุรินทร์ มาลงทุนในชินคอร์ป ซึ่งดูจากการเข้ามามีอำนาจจริงๆ และเอาเงินมาจริงๆ คิดว่าไม่น่าจะเป็นนอมินีของใคร
นอกจากนี้ หุ้นที่กลุ่มเบญจรงค์กุล นำมาขายให้กับกลุ่มเทเลนอร์ ก็เป็นหุ้นที่ “สะอาด” กว่าหุ้นของครอบครัวชินวัตรมาก ไม่ใช่หุ้นที่คนกังขาว่าใช้ซุก ปั่น หรือมีประวัติการ “เลี่ยงภาษี” ของคนในตระกูลเมื่อโอนหุ้นระหว่างกันหลายปีก่อน
ดังนั้น เมื่อมันเป็นเรื่องต่างกรรม ต่างวาระ ที่มีระดับความ “น่าเกลียด” น้อยกว่ากัน จึงถูกต้องแล้วที่ไม่มีใครประท้วงการขายหุ้นของยูคอม
* ขณะนี้นายสนธิทำโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง ASTV แพร่ภาพในไทยโดยใช้ดาวเทียมต่างชาติ (New Sky Network NSN ยิงสัญญาณภาพจากฮ่องกง) ผิดกฎหมายไทย ทั้งโทรคมนาคมและโทรทัศน์ อ้างเรื่องเสรีสื่อ แต่เป็นภัยต่อความมั่นคงในการร่วมมือกับต่างชาติเพื่อทำสื่อข้ามประเทศเข้ามาประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย
ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าข้อกล่าวหานี้จริงเท็จเพียงใด เพราะไม่มีความรู้เพียงพอ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ถ้าสนธิทำผิดกฎหมายเหล่านี้จริง ทำไมยังไม่มีหน่วยงานรัฐเอาเรื่องเขา เพราะ ASTV ก็แพร่ภาพมาเป็นปีๆ แล้ว ส่วนเรื่องความมั่นคงของชาติในกรณีนี้ ไม่น่าจะเป็นปัญหาเท่ากับเรื่องเทมาเสกควบคุมดาวเทียม เพราะกฎหมายไทยไม่อนุญาตให้ต่างชาติยิงสัญญาณดาวเทียมเข้ามาในประเทศตามอำเภอใจได้ (แม้ว่าจะทำได้ในทางเทคนิค) ต้องอาศัยพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นคนไทย เช่นสนธิ รัฐบาลไทยมีอำนาจควบคุมสั่งการคนไทยให้ปฏิบัติตามกฎหมายได้อยู่แล้ว
I have a point for this, and already reply on Ms. Fringer in her blog http://www.fringer.org/?p=201 as this.
ปัญหาก็คือ สมควรหรือไม่ ที่ บุคคลที่กล่าวหาผู้อื่น เรื่องจริยธรรม มีปัญหาด้านจริยธรรมเสียเอง อีกปัญหาที่ต่างชาติมอง ไม่ใช่ไม่พอใจ เรื่อง ความโปร่งใสของ กฏหมาย แต่ ที่มาของกฏหมาย ที่ดูไม่น่าจะโปร่งใสเลยต่างหากที่เป็นปัญหา
ทั้งที่มาของผู้ที่เป็นวัตถุดิบในการเลือก สสร. วิธีการเลือก สสร. และปัญหาเรื่องการจัดการ ภายในที่กระทำได้ ไร้ระบบ จนกระทั่งเรียกว่า ถ้า กกต ชุดที่แล้ว เรียกว่า โกงการเลือกตั้ง การเลือก สสร ชุดนี้ คงหาคำบรรยายไม่ถูก
ปล. อ้อ ขอบคุณ สำหรับ link ข้อมูลเก่านะครับ อ่านจบแล้ว
เรื่อง ASTV ขออธิบายในแบบที่ตนเองเข้าใจนะครับ
ดาวเทียม แต่ละดวงจะมี Foot Print ไกล ใกล้ไม่เท่ากัน และวิถีที่โคจร มุมที่ Antenna ยิงลง คลื่นที่ใช้ CU Band หรือ KU Band (แต่ไม่ยักมี TU Band แอบน้อยใจนะเนี่ย) เพราะฉะนั้น การที่ ดาวเทียมของประเทศอื่นจะยิงลงมาถึง ประเทศเพื่อนบ้าน จึงไม่ใช่เรื่องแปลก หรือบังเอิญแต่ประการใด
ผมยังเคยดู UBC ใน Hong Kong ออกบ่อย (ปล มี Scramble card UBC ขายที่นั่นด้วย 555) การที่สัญญาณดาวเทียมของ ฮ่องกง ตกลงมาในเขตไทยจึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใด
แต่การอาศัยช่องว่างดังกล่าวทำผิดกฏหมาย เสียเองแล้วเที่ยวร้องไปทั่ว ว่าคนอื่นทำผิดจริยธรรม นั่นดูเป็นการกระทำที่ถูกหรือไร ไม่เป็น “50 steps laugh at 100 steps” หรือไร หรือว่าไม่ว่า สื่อทำอะไร ถูกหมด
เรื่องอื่นนี่ผมยังหาบทความที่จะสนับสนุนหรือแย้ง ได้อย่างแน่นหนา ขออนุญาตมาเถียง (^^) ในคราวหน้าแล้วกันครับ
I cannot criticize others topic here, but only one point that I want to make.
Business is business nothing clean. And that's all folks.