การสำรองข้อมูล

การสำรองข้อมูล
20-08-2015solutions

บทความที่ 2: การสำรองข้อมูล

การสำรองข้อมูลโดยหลักการคือการทำสำเนาของข้อมูลของคุณแยกเป็นอีกหนึ่งชุดแยกออกจากชุดข้อมูลจริง

ประโยชน์หลักของการทำสำรองข้อมูล
1. เพื่อป้องกันปัญหาหลังข้อมูลชุดหลัก เสียหายหรือสูญหายเนื่องจาก ไวรัส การเสียหายของอุปกรณ์ หรือเนื่องจากความผิดพลาดในการทำงาน
2. เพื่อใช้ในการสืบค้นเปรียบเทียบกับข้อมูลชุดเดิมที่มีมาก่อน

เปรียบเทียบตามวิธีการสำรองข้อมูล
1. สำรองตามความจำเป็น เป็นครั้งคราว (unstructured backup)
2. เก็บสำรองข้อมูลทั้งระบบ รวมตัวระบบปฏิบัติการและซอฟแวร์ (full image backup)
3. เก็บข้อมูลเฉพาะส่วนข้อมูลที่ต่าง (differential backup) คือการเก็บข้อมูลเฉพาะข้อมูลที่ต่างจากการเก็บสำรองข้อมูลทั้งหมด (full backup)
4. เก็บข้อมูลเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นมา (incremental backup) คือการเก็บข้อมูลเฉพาะข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจากการเก็บสำรองข้อมูลครั้งก่อน (full backup)

อะไรคือข้อแตกต่างระหว่าง เก็บข้อมูลเฉพาะส่วนข้อมูลที่ต่าง (differential backup) กับ เก็บข้อมูลเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นมา (incremental backup)

สมมติว่ามีการทำสำรองข้อมูลทั้งหมด(full backup) ในวันศุกร์เย็น

ในวันจันทร์ ข้อมูลที่ถูกทำสำรองของ การเก็บข้อมูลเฉพาะส่วนข้อมูลที่ต่าง (differential backup) กับ การเก็บข้อมูลเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นมา (incremental backup) จะเหมือนกัน

แต่ในวันอังคาร การเก็บข้อมูลเฉพาะส่วนข้อมูลที่ต่าง (differential backup) จะเก็บข้อมูลทั้งหมดที่ต่างจากข้อมูลวันศุกร์ ส่วน การเก็บข้อมูลเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นมา (incremental backup) จะทำสำรองข้อมูลเฉพาะที่เพิ่มขึ้นมาจากวันจันทร์เท่านั้น

ในวันถัดมา พุธ และพฤหัสบดี การเก็บข้อมูลเฉพาะส่วนข้อมูลที่ต่าง (differential backup) จะเก็บข้อมูลที่ต่างจากวันศุกร์ การเก็บข้อมูลเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นมา (incremental backup) จะเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจากวันอังคารและพุธตามลำดับ

ควรทำ backup บ่อยแค่ไหน?
คุณควรทำ backup บ่อยแค่ไหน? ตามทฤษฎีคุณควร backup ตลอดเวลา และในทางปฏิบัติก็สามารถทำได้ ซอฟแวร์หลายตัวในปัจจุบันสามารถทำการสำรองข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมา (incremental backup) ให้คุณได้ตลอดเวลา ส่วนการทำสำรองข้อมูลทั้งหมด(full backup) คุณควรทำสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรือถ้าระบบมีขนาดใหญ่มาก คุณควรทำสำรองข้อมูลทั้งหมด(full backup) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

การสำรองตามประเภทของตัวเก็บข้อมูล

1. เก็บสำรองในตัวเครื่องเอง (local media backup)
2. เก็บสำรองในที่เก็บข้อมูลแบบเคลื่อนย้ายได้ (removable backup)
3. เก็บสำรองข้อมูลในที่เก็บสำรองข้อมูลแบบก้อนเมฆ (cloud backup) หรือใน server รวมศูนย์ (centralize file server)

สำหรับท่านที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาอ่านบทความภาษาอังกฤษได้จาก
for English reference you can read from
Wikipedia
Acronis
Microsoft