I had planned to write about the absurd people at Rachadamnoen; But after read this I changed my mind.
He wrote down all in detail, better than mine. So if have (again) I will translate this to English.
หยุดเถอะ พันธมิตร: ขบวนการ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” กับ ตรรกะ “อะไรก็ไม่รู้” ทางการเมือง
ประเทศไทยในขณะนี้ จะกล่าวว่ากำลังเผชิญอยู่กับ “ความยุ่งเหยิง หรือมั่วถั่ว” ทางการเมือง ก็คงจะไม่เป็นการเกินเลยนัก ทั้งนี้เหตุแห่งความยุ่งเหยิงนี้มาจาก “การชนกัน” ของกลุ่มผลประโยชน์ 2 กลุ่ม คือ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (และพวก)” กับ “รัฐบาล (และผู้สนับสนุน)” แต่สิ่งที่ผมอยากจะนำเสนอในครั้งนี้ก็คือ “ตรรกะแบบไร้ทิศทาง ไร้ระเบียบ ไร้ความคิด” (แต่ไม่ใช่ไร้จุดยืน – คนกลุ่มนี้มีจุดยืนทางการเมือง และผลประโยชน์ชัดเจนมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย) ของฝ่ายพันธมิตรฯ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่มีความต่อเนื่องของ “กระแสแห่งการเรียกร้อง (แบบผิดๆ)” มาตั้งแต่ยุครัฐบาลทักษิณ 2 และก็ “หยุดการเคลื่อนไหว” ไประยะหนึ่งในช่วงที่ประเทศปกครองด้วยรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ของพลเอกสุรยุทธ์ และเริ่มทำการเคลื่อนไหวอีกครั้งในช่วงเวลาเมื่อไม่นานมานี้ ต่อเนื่องจนถึงตอนนี้ ในสมัยรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช
การเคลื่อนไหวของขบวนการนี้นั้นสร้าง “ผลกระทบ” ต่างๆ ตามมามากมาย บางท่านกล่าวกันว่า การเกิดขึ้น และจุดประสงค์ของขบวนการนี้คือ “การกระตุ้นให้เกิดการรัฐประหาร” ขึ้นเสียด้วยซ้ำไป แต่เรื่องนี้เอาไว้ก่อน เพราะตอนนี้ผมไม่ได้ตั้งเป้าจะเปิดประเด็นส่วนนั้น แต่ที่อยากจะชี้ให้เห็นคือ “หลักตรรกะประหลาดๆ ของพันธมิตรฯ” ต่างหาก
ตรรกะหลักๆ ของพันธมิตรฯ ในฐานะกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรของตน (ในครั้งนี้) มี 4 ประเด็นหลักๆ (คือ 4 ประเด็นแรก ที่ผมจะพูดถึง) และประเด็นจิปาถะอีกมากมาย ซึ่งผมจะพยายามเอามาเสวนาด้วยเท่าที่ความขยันจะอำนวย
ประเด็นแรก…ข้อเรียกร้องอย่าง “ผิดหลัก” สุดขีด: ขบวนการนี้มีชื่อ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครับ แต่หากเราลองศึกษาดูข้อเรียกร้องของขบวนการณ์กลุ่มนี้แล้วเราจะพบ “พฤติการณ์” ที่ “ตรงข้ามกับชื่อ” โดยสิ้นเชิงอยู่มากมาย โดยเฉพาะพฤติการณ์ที่จะพูดถึงเป็นประเด็นแรกนี้ ซึ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ 2 แล้ว นั่นก็คือ ข้อเรียกร้องในการขับไล่ผู้นำ (ที่มาจากการเลือกตั้ง)
โดยหลักการของระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา และหลักรัฐศาสตร์โดยทั่วไป ที่เป็นที่ยอมรับกันในสากลจักรวาลแล้ว ผู้นำประเทศที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฏหมายนั้น “ย่อมมีหน้าที่ในการเข้ารับตำแหน่งเพื่อทำหน้าที่บริหารงานประเทศ” และการจะถอดถอนคณะผู้บริหารประเทศ ที่มาจากการเลือกตั้งด้วยเสียงคนส่วนมาก ด้วยตัวประชาชนนั้น “จำเป็นต้องเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ (Majority’s Will) เท่านั้น” แต่สิ่งที่พันธมิตรฯ เรียกร้องนั้นคืออะไร?…ข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ คือการบอกให้รัฐบาลที่มาจากความต้องการของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ลงจากตำแหน่งด้วยความต้องการของคนส่วนน้อยในประเทศ ดังนั้นสิ่งที่พันธมิตรฯ กำลังทำอยู่คือ “พันธมิตรประชาชน (กลุ่มหนึ่ง) เพื่อคณาธิปไตย” ครับ (คณาธิปไตย คือการปกครองที่มีคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งเป็นใหญ่เหนือประชาชนกลุ่มอื่นๆ ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศนั้นๆ) โดยมีตัว “คณะพันธมิตรฯ เอง” เป็นผู้ก่อการใช้อำนาจ
พันธมิตรฯ ไม่มีสิทธิในการ “โค่นล้ม” หรือประกาศกร้าวว่า “หากรัฐบาลไม่ยอมลงจากตำแหน่งอันมีอำนาจในการบริหารประเทศ ตนจะไม่ยอมถอย” เช่นนี้ สิ่งที่พันธมิตร ทำได้ คือ การยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล ว่ากลุ่มของตนมีความเห็นอย่างนั้น อย่างนี้ จึงเห็นควรว่ารัฐบาลไม่สมควรจะอยู่ในตำแหน่งต่อไป ซึ่ง ณ จุดนี้พันธมิตรฯ ต้องมีความกล้าที่จะยอมรับการตัดสินใจของรัฐบาลต่อข้อเสนอของตน (ซึ่งแน่นอนว่า “เห็นได้ชัดว่าจะตอบอย่างไร”) เพราะการตัดสินใจของรัฐบาลนั้น กระทำบนฐานเสียง ฐานอำนาจของเสียงส่วนใหญ่ในประเทศ ที่พันธมิตรฯ (หากรักประชาธิปไตยจริง) จักต้องเคารพ ไม่ว่าผลจะออกมาเช่นใด หรืออีกสิ่งหนึ่งที่พันธมิตรฯ พึงกระทำก็คือ “การทำให้เสียงส่วนน้อยของตน กลายมาเป็นเสียงส่วนใหญ่ของคนในชาติอย่างแท้จริง” (ผมไม่ได้หมายความว่า ให้ฆ่าล้างคนที่เหลือทั้งประเทศนะ)
พันธมิตรฯ ต้องชี้ให้เห็นให้ได้ว่า “รัฐบาลทำหน้าที่ (คือบริหารประเทศ) บกพร่องอย่างไร ผิดพลาดอย่างไร…ไม่ใช่เล่นประเด็นเบี้ยน้อย หอยน้อย อย่างกรณีการปาฐกถาของจักรภพ เพ็ญแข และหากคนโดยมากยอมรับจริงว่า “รัฐบาลสมควรออก” เมื่อนั้น จึงจะกล่าวได้ว่า “การกระทำของพันธมิตรมีความชอบธรรม”
ประเด็นที่สอง…ระบบสองมาตราฐานของการด่า: พันธมิตรฯ นั้นเป็นขบวนการ ที่มีความสามารถในการด่าสูง คิดคำด่าใหม่ๆ เก่ง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นขบวนการที่ “ใบ้รับประทาน” ไปด้วยพร้อมๆ กัน กล่าวคือ หากเราสังเกตดูการ “ด่าทอ” ของขบวนการนี้ ทั้งจากเวทีปราศัย หรือผ่านสื่อในเครือผู้จัดการ ซึ่งเป็นกระบอกเสียงหลักของขบวนการ เราจะพบว่า คำด่ามากมายได้เกิดขึ้น ทั้งการใช้คำศัพท์ที่ “เหยียดหยามอย่างผิด (หรือหมิ่นเหม่ว่าจะผิด) กฎหมาย” เช่น เจ๊เพ็ญ, หรือในกรณีของทักษิณนั้น มากจนพูดไม่หมด (ฟักแม้ว, ไอ้เหลี่ยม, ฯลฯ) นอกจากนี้พันธมิตรฯ ก็พยายามตั้งข้อหามากมายขึ้นมา ซึ่งผมก็ไม่ได้ว่าอะไรนะ
แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า “พันธมิตรฯ ด่าไม่หมด ด่าไม่ครบครับ” อยู่ไหนครับ คำด่าสำหรับประชาธิปัตย์ กรณีคอรัปชั่น (สภอ. 4-01, เศรษฐกิจล่มจนแทบต้องขายประเทศ, ฯลฯ), อยู่ไหนครับ คำด่าสำหรับรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ และเหล่าทหาร??? ธนาคารทหารไทยขาดทุนหลายหมื่นล้าน (เพียงธนาคารเดียว) ในยุครัฐบาลจากการรัฐประหารครับ…ไหนล่ะครับคำด่า??? งบลับนับครั้งไม่ถ้วน…ไหนล่ะครับคำด่า???…เพิ่มงบทางการทหารเป็นเท่าตัว…ไหนครับคำด่า, ไหนครับเวที??? ไม่มีครับ ผมไม่ได้ห้าม ไม่ได้ว่าที่ทำการด่า เพราะผมไม่มีอำนาจไปห้ามใครครับ แต่หากจะด่า คุณต้องด่าให้หมด ด่าให้ครบถ้วน ไม่ใช่เลือกที่จะด่าคนที่ชัง แต่อุ้มชูคนที่รักไว้ครับ ไม่เช่นนั้นคุณจะเอาหน้าที่ไหนมาอ้างว่าตนเอง “เป็นนักประชาธิปไตย”…คุณสามารถด่า หรือตั้งข้อสังเกตทักษิณกรณีภาษีได้ครับ แต่ต้องไม่ลืมด่าคนที่ “ทั้งชีวิต” ไม่เคยจ่ายภาษีสักแดงเดียวด้วย (ทั้งๆ ที่รวยล้นฟ้า)
ผมสรุปประเด็นนี้ง่ายๆ ครับว่า พันธมิตรฯ นั้นใช้ตรรกะนี้ในการอุ้มชูขบวนการของตน ใช้มันในการสถาปนาสิ่งที่เรียกว่า “กลุ่มผลประโยชน์แห่งความเกลียดชัง” (แทนที่จะเป็น “กลุ่มผลประโยชน์แห่งเหตุและผล”) ครับ ด้วยตรรกะนี้ พันธมิตรจะด่าเฉพาะคนที่ตนเกลียด และกระตุ้นให้เป้าหมายของตนเกลียดคนที่ตนเกลียดไปด้วย ในในขณะที่ คนที่ตนรัก ก็จะเลี่ยงไม่พูดถึง หรือประณีประนอม ถนอมน้ำใจจนถึงหยดสุดท้าย…แต่น่าเหนื่อยใจแทนครับ (และอายแทนด้วย) เพราะประเด็นหนึ่งที่พันธมิตรฯ ใช้เล่นงานรัฐบาลทักษิณ และสมัครก็คือ “สองมาตราฐานในการทำงาน”…ทำให้ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ว่าพันธมิตรเคยส่องกระจกบ้างหรือ
เปล่า
ประเด็นที่สาม…การเบี่ยงเบนข้อเรียกร้อง: ข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ ในสมัยล่าสุดนั้น “ในเบื้องต้น” มี สองประการหลักๆ คือ การให้รัฐบาลถอนญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 และอีกประการหนึ่งก็คือ การให้นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง ด้วย “ข้อกล่าวหา” ว่า หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ผมใช้ว่าข้อปรักปรำ เพราะศาลยังไม่ได้ตัดสิน จึงยังเป็นเพียงคำ “กล่าวหา” อยู่)
จากข้อเรียกร้องดังกล่าวที่กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ใช้สิทธิยื่นข้อเสนอต่อทางรัฐบาลนั้น เราจะพบว่า ทางรัฐบาลสมัคร ได้ตอบสนองในแบบที่กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องการแล้วทั้ง 2 กรณี คือ ถอนญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกแล้ว และนายจักรภพ เพ็ญแข ก็ยินยอมลาออกจากตำแหน่งของตนเองแล้วด้วยเช่นกัน…กระนั้น แม้ทางรัฐบาลจะ “ถอย” ให้ขนาดนี้แล้ว กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ยังคง “พยายาม” หาทาง “ที่จะรั้งตัวเองให้ได้อยู่” ต่อไปอีก ผมขอเสนอประเด็นนี้ เป็นกรณีๆ ไป
สำหรับกรณีแรก (ถอนญัตติ) ผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ มักจะอ้างว่า “แม้รัฐบาลจะถอนญัตติไปแล้ว แต่กลุ่ม สส. อีสานใต้ ก็พยายามจะเสนอยื่นญัตติดังกล่าวเข้าสภาอีกอยู่” ดังนั้นจึงยังต้องเรียกร้องต่อไปให้ถึงที่สุด ฯลฯ ฯลฯ…บอกตรงๆ ว่าการกล่าวในลักษณะนี้ เป็นการพูดที่ “เห็นแก่ได้ และไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างที่สุด” ครับ (นอกจากนี้ กรณีนี้ยังช่วยตอกย้ำข้อเท็จจริงที่ผมกล่าวไว้ ใน 2 ประเด็นแรกอย่างชัดเจนด้วย) เพราะพันธมิตร ก็ได้ใช้สิทธิในส่วนของพันธมิตรในการเรียกร้องส่วนนี้ไป ไม่ว่าอะไรกัน และทางรัฐบาลเอง ก็ได้ใช้สิทธิตามอำนาจหน้าที่ ตัดสินใจ “ถแย” โดยการทำตามข้อเรียกร้องของพันธมิตร
แล้วทีนี้ พอจะมีคนกลุ่มอื่น (สส. อีสานใต้) ขอใช้สิทธิบ้าง ในการบอกว่า “พวกผมไม่เห็นด้วยกับการถอนญัตติ”…ทำไมจะทำไม่ได้ครับ??? หรือพันธมิตรจะบอกว่า มีเฉพาะพันธมิตรฯ เท่านั้นที่ “สามารถใช้สิทธิได้ ผู้อื่นห้ามใช้”
สำหรับกรณีที่สอง (กรณีจักรภพ) กรณีจักรภพนี้ พันธมิตรฯ เรียกร้องให้จักรภพ ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งสุดท้ายแล้วจักรภพก็ “ลาออก” ตามที่พันธมิตรฯ ต้องการแล้ว แต่พันธมิตรก็ยังคงลงหลักปักฐาน “หาเรื่อง” ที่จะอยู่ต่อ ด้วยการอ้างว่า “จักรภพ ไม่ได้สำนึกผิด”…ก็แล้วจะให้จักรภพ สำนึกผิดได้อย่างไร ในเมื่อจักรภพเชื่อว่า สิ่งที่เค้าทำนั้น “ไม่ได้หมิ่น” แต่พันธมิตรฯ เองต่างหากที่ไปสร้างข้อสรุปเอาเองให้จักรภพ”
จากกรณีทั้งสองนั้น นอกจากจะทำให้พันธมิตรฯ ลงหลักปักฐานต่อไปแล้ว ยังขยายขอบเขต และเลี่ยงเบนข้อเรียกร้อง เป็นว่า หากรัฐบาลสมัคร ไม่ยอมออกจากตำแหน่ง ก็จะไม่ยอมเลิก (ซึ่งก่อปัญหา ตามประเด็นที่ 1 ที่เสนอไปแล้ว)
ประเด็นที่สี่…สโลแกน รัฐธรรมนูญไร้สติ: ในการชุมนุมของพันธมิตรฯ ในครานี้นั้น มีการพูดออกมามากมายว่า “ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้เพื่อฟอกใคร???” (ประมาณนี้) การพูดในลักษณะนี้ของพันธมิตร และผู้สนับสนุน เป็นการพูดในลักษณะที่ “ไม่ได้ใช้การไตร่ตรองให้ดีก่อน”…ผมไม่เถียงพันธมิตรฯ ล่ะว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นมีนัยยะทางการเมืองอยู่อย่างที่พันธมิตรฯ ว่ามา แต่ต้องถามก่อนว่า “แล้วรัฐธรรมนูญ 2550 มันเขียนมาเพื่อใคร???” (ผมเคยเขียนถึงกรณีนี้แล้ว ใน เว็บบอร์ดเก่าของฟ้าเดียวกัน – ซึ่งตอนนี้ผมเข้าไม่ได้แล้ว…หากต้องการจะนำมาแปะไว้ให้ )
นอกจากนี้ต้องด้วยว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่มีสิทธิทำการประชามติกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้อีกครั้ง พันธมิตรฯ ลืมแล้วหรือว่านี่คือรัฐธรรมนูญที่ “ยาวที่สุดในโลก แต่ให้เวลาคนศึกษา (ทั้งฉบับ) น้อยที่สุดในโลก”, พันธมิตรฯ ลืมแล้วหรือไรว่า การโปรโมตของรัฐบาลสุรยุทธ ตอนนั้น “เข้าข้าง” การให้รับร่างรัฐธรรมนูญ มากเพียงใด??? (กรุณานึกถึง ป้ายไฟเขียวทั่วกรุงเทพฯ, ฯลฯ), พันธมิตรฯ ลืมไปแล้วหรือว่านี่คือรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของคนในชาติ นั้นผ่านการประชามติมาด้วย “จำนวนคนที่ไม่ต้องการมากเพียงใด” (ประเทศที่เจริญแล้ว โดยมากเค้าจะใช้เสียงว่า “รับ” รัฐธรรมนูญ ถึง 2/3 หรือ 3/4 เลยด้วยซ้ำ การประชามติรัฐธรรมนูญจึงจะผ่าน)
เช่นนี้แล้ว เหตุใดการทำประชามติ ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงทำไม่ได้???
(ตอนนี้ขี้เกียจแล้ว ประเด็นจิปาถะ จะต่อทีหลังนะครับ…อีกนัยหนึ่งคือ “บทความนี้ยังไม่สมบูรณ์” ครับ)
ด้วยความเคารพ
Sorry to end up like this, but since after coup; I never respect any people who join that absurd protest; or any whom agreed on that, at all.
PS. about the white shirt group, or orange group, I know that you all just the people that anti-Thaksin before, but know how absurd of the protest. So try to make yourself look better. But sorry you are still absurd, and look silly; nothing change
Comments are closed.